กรัมแรง ของแรงดูดแม่เหล็ก คืออะไร ?
-
กรัมแรง ของแรงดูดแม่เหล็ก คืออะไร ?
- หัวข้อบทความ
- 1. ข้อจำกัดความการใช้งาน
- 2. ทำไมแรงดูดแม่เหล็กถึงเป็น กรัมแรง
- 3. การทดสอบหาค่าแรง
- 4. การนำไปประยุกต์ใช้
- 5. เกี่ยวกับผู้เขียน
![]() |
---|
- Brief / ข้อมูลอย่างย่อ
- วัตถุ หนัก 1 กิโลกรัม แขวน นิ่งๆ จะมีค่า ประมาณ
- 1 Kgf หรือ กิโลกรัมแรง
- 1,000 gf หรือ กรัมแรง
- 2.2 Lbf หรือ ปอนด์แรง
- 9.8 N หรือ นิวตัน
- กรณี ตถุ หนัก 1 กิโลกรัม แขวน และมีการเพิ่มแรง , แกว่ง เขย่า จะทำให้มี ความเร่ง เพิ่มขึ้น/ลดลง ทำให้ค่าแรง อาจ เพิ่มขึ้น หรือลดลง ได้
- ดังนั้น ทางเราจำเลือกใช้ กรัมแรง แทนการใช้หน่วยกรัมเฉยๆ
- เนื่องจาก เช่น วัตถุ 1 ชิ้น ที่มีน้ำหนัก 100 กรัม
- แต่มีโอกาส สร้างแรง 100 กรัม หรือ มากกว่า หรือ น้อยกว่า ได้ครับผม
- วัตถุ หนัก 1 กิโลกรัม แขวน นิ่งๆ จะมีค่า ประมาณ
- 1. ข้อจำกัดความการใช้งาน
- สำหรับข้อมูลบทความนี้ เป็นการอธิบายถึงหลักการ ของการใช้หน่วยวัด "กรัมแรง" สำหรับข้อมูล แรงดูดของแม่เหล็กแรงสูง นีโอไดเมียม ที่จำหน่ายโดย บริษัท เหล็กดูด จำกัด เท่านั้น
- หน่วยวัดแรงมีหลากหลายหน่วยวัด แต่ผมเลือกค่า กรัมแรง เนื่องจากเป็นค่าที่คิดว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ง่ายที่สุด
- 2. ทำไมแรงดูดแม่เหล็กถึงเป็นกรัมแรง
- จากหัวข้อบทความ "กรัมแรง" หลายท่านอาจจะสงสัยว่า กรัมแรงคืออะไร ปกติจะเจอแต่ กรัม หรือ กิโลกรัม
- สำหรับ "กรัม" นั้น โดยหลักการ หมายถึง มวลของวัตถุครับ
- กรณีของแรงดูดแม่เหล็กนั้น ถ้าแม่เหล็กดูดอยู่นิ่งๆ ค่าแรง จะคงที่ครับ
- แต่ถ้ามีสิ่งเร้า หรือ ปัจจัยภายนอกมารบกวน อาจทำให้ค่าแรงไม่คงที่ครับ เช่น
- มีการเคลื่อนไหว
- มีการสั่นสะเทือน
- มีลมพัด
- นั่นก็คือ ค่า G หรือ ความเร่ง มีการเปลี่ยนแปลงนั่งเองครับ
- จากปัจจัยสิ่งเร้าทำให้ แม่เหล็กที่ปกติ ดูดวัตถุหนัก 1,000 กรัมได้ แต่เมื่อได้รับสิ่งเร้า หรือปัจจัยภายนอก ก็มีโอกาสที่แม่เหล็กจะหลุดได้นั่นเองครับ
- จึงทำให้ไม่สามารถระบุค่าแรงดูดของแม่เหล็ก เป็นกรัม ได้นั่นเองครับ
- การระบุค่าเป็น กรัมแรง จึงสามารถนำไปคำนวณได้ดีกว่าข้อมูลเป็นกรัมครับ
- *** จากการทดสอบ ลูกตุ้มเหล็กหนัก 1,000 กรัม แขวนบนเครื่องทดสอบแรงดึง วัดค่าได้ 1,000 กรัมแรงครับ
- อีกปัจจัยหนึ่งที่ทางผมเลือกระบุค่าแรงดูดแม่เหล็กเป็นกรัมแรง คือหัวข้อถัดไปครับ
- 3. การทดสอบหาค่าแรง
- จากการคิดค้น และพัฒนา หารูปแบบการทดสอบหาค่าแรงดูดของแม่เหล็กมาหลายปี เช่น
- การทดสอบด้วยการใช้ ลูกตุ้มเหล็ก วิธีนี้จะหาค่าได้เป็นกรัม , กิโลกรัม แต่จังหวัดที่แขวนวัตถุแต่ละครั้ง อาจเร็ว หรือ ช้า
- ถ้าแขวนเร็วๆ อาจจะหลุดได้
- ถ้าค่อยๆแขวน ก็อาจจะแขวนติดอยู่ได้
- ถ้าลูกตุ้มเหล็กแกว่ง ก็มีโอกาสหลุดได้ว่ายยิ่งขึ้น
- ต่อมาผมเลือกที่จะลงทุนใน เครื่องทดสอบแรงดึง ซึ่งค่าที่วัดได้จะมีค่าเป็น หน่วย Newton , กรัมแรง ซึ่งเป็นค่าของแรง ซึ่งมีข้อดีตรงที่ว่า ไม่ว่าจะดึงเครื่องวัดเร็วๆ หรือ ค่อยๆวัด ค่าที่ได้ไม่แตกต่างกันมาก
- แต่ยังมีข้อเสียอยู่ตรงที่ต้องใช้มือดึง ซึ่งในแต่ละครั้งมุมของการดึง ไม่มั่นคง ทำให้ค่าอาจคลาดเคลื่อนได้
- จากปัญหาข้างต้นผมจึงเลือกที่ใช้แท่นทดสอบแรงดึง และ พิมพ์พลาสติก สำหรับติดแม่เหล็กสำหรับแต่ละไซส์โดยเฉพาะ (จากเดิมใช้แม่เหล็กติดบนไม้) ทำให้การทดสอบแต่ละครั้งได้ศูนย์กลาง และค่าคลาดเคลื่อนน้อยครับ
- การทดสอบด้วยการใช้ ลูกตุ้มเหล็ก วิธีนี้จะหาค่าได้เป็นกรัม , กิโลกรัม แต่จังหวัดที่แขวนวัตถุแต่ละครั้ง อาจเร็ว หรือ ช้า
- จากการคิดค้น และพัฒนา หารูปแบบการทดสอบหาค่าแรงดูดของแม่เหล็กมาหลายปี เช่น
- 4. การนำไปประยุกต์ใช้
- สำหรับฐานข้อมูลแรงดูดแม่เหล็กแรงสูง แบบต่างๆ ของทางผม จะเก็บรวบรวมที่ www.rangdood.com ซึ่งข้อมูลทั้งหมด เป็นการทดสอบจริง จากการสุ่มแม่เหล็ก ของแต่ละล็อตครับ
- สำหรับแรงดูด ตอนนี้ผมกำหนดไว้ 5 มาตรฐาน เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งานของลูกค้า ได้แก่
- แบบที่ 1 – แรงดูด แม่เหล็ก : แม่เหล็ก แนวตรง
- แบบที่ 2 – แรงดูด แม่เหล็ก : แม่เหล็ก แนวสไลด์
- แบบที่ 3 – แรงดูด แม่เหล็ก : เหล็ก แนวตรง
- แบบที่ 4 – แรงดูด แม่เหล็ก : เหล็ก แนวสไลด์
- แบบที่ 5 – แรงผลัก แม่เหล็ก : แม่เหล็ก แนวตรง
- สำหรับรูปแบบแรงดูด ผมขออธิบายในบทความต่อไป เพราะยังมีเรื่องของ ระยะดูด ซึ่ง มีความแตกต่างกันอีกด้วยครับ
- แต่ละรูปแบบ ค่าแรงดูดที่ผมวัดได้ เป็นแรงดูดสูงสุด ที่ทำให้แม่เหล็กหลุดออกจากกันครับ
- ค่าดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้ได้ในทุกกรณีการใช้งาน
- ผมจึงกำหนดมาตรฐานขึ้นเพิ่มเติม ดังนี้
- แรงดูดสูงสุด 100% เป็นค่าแรงที่ต้องใช้ในการทำให้แม่เหล็กหลุดออกจากกัน
- แรงดูด 80% เป็นค่า 80% ของแรงดูดสูงสุด สำหรับค่านี้ใช้ในกรณี รับแรงแบบนิ่งๆ ไม่รับปัจจัยภายนอกเพิ่มเติม
- แรงดูด 50% เป็นค่า 50% ของแรงดูดสูงสุด สำหรับค่านี้ใช้ในกรณี รับแรงทั่วไป ที่มีปัจจัยภายนอกบ้าง แต่ไม่เยอะมาก
- 5. เกี่ยวกับผู้เขียน
- บทความข้างต้น เขียนจากประสบการณ์ที่อยู่กับแม่เหล็กแรงสูงมากว่า 6 ปี หากมีข้อผิดพลาดประการใด รบกวนแนะนำเพื่อแก้ไขได้เลยนะครับ ที่ Line ID : @lekdood
- เรียบเรียงโดย บอยเหล็กดูด / Boy-Lekdood
- สั่งซื้อแม่เหล็กแรงสูงได้ที่ www.lekdood.co.th
- ฐานข้อมูลแรงดูดแม่เหล็กแบบต่างๆ : www.rangdood.com
- เว็บรวมวิดีโอแม่เหล็กแรงสูง : www.lekdood.tv
- Magnet immage Shutterstock By tkyszk 1107671393
สถานะของสินค้า
คงเหลือ | ||
---|---|---|
ซื้อแม่เหล็ก Line ID : @lekdood | 99 ชิ้น |